หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

ปริญญาตรี

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย              :   หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ภาษาอังกฤษ         :   Bachelor of Public Administration Program in Public
Administration

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย
ชื่อเต็ม :   รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อย่อ  :   รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์) 
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม :  Bachelor of Public Administration (Public Administration)
ชื่อย่อ  :  B.P.A. (Public Administration)

จำนวนหน่วยกิตและรูปแบบของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต

รูปแบบ
เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี*
*สำหรับผู้ไม่ได้เทียบโอนวุฒิการศึกษา หรือประสบการณ์ทำงาน

ประเภทหลักสูตร
เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา
   ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คู่คุณธรรม เชี่ยวชาญการพัฒนางาน และเป็นนวัตกร กระบวนการในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในโลกดิจิทัล

ความสำคัญ
   จากสภาพการณ์ในปัจจุบันของสังคมทั้งในและต่างประเทศที่อยู่ในสภาพโลกาภิวัตน์และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ทำให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทั้งหมดก็ได้ส่งผลต่อการบริหารงานภาครัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้การบริหารงานภาครัฐต้องมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องในหลายประเด็น อาทิ ปรัชญาของการบริหารงานภาครัฐระบบของการบริหารงานภาครัฐ เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนในรูปของการปฏิรูประบบราชการที่กระทำมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้หรือแม้กระทั่งคุณลักษณะหน้าที่ของผู้บริหารงานภาครัฐที่ต้องเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้สภาพการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังกล่าว ยังได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันกับศาสตร์ทางด้านการบริหารงานภาครัฐทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาตลอดจนสร้างแนวคิดในการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ขึ้นมา เช่น การนำแนวคิดจากภาคเอกชนมาปรับใช้ การทำงานในลักษณะของร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership) การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม (Civil Society) ทั้งนี้เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดสุดเกิดขึ้นกับประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี
   ดังนั้น คณะกรรมการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญในหน้าที่การผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ว่าจะส่งผลอย่างมากต่อการบริหารงานภาครัฐและความเป็นอยู่ของสังคมโดยรวม จึงเล็งเห็นโอกาสอันดีที่จะปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้มีคุณธรรมจริยธรรมรู้เท่าทันสภาพการณ์และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของสังคมได้

วัตถุประสงค์

  • เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม ความรู้ และทักษะทางรัฐประศาสตนศาสตร์
  • เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งใน
    ระดับประเทศและในระดับท้องถิ่นในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนวัตกรกระบวนการ เพื่อการพัฒนางาน และหน่วยงาน
แผนการรับนักศึกษา

ปริญญาตรีเต็มเวลา จันทร์-ศุกร์ รับสมัคร ถึง 31 พ.ค. 67

ปริญญาตรีเต็มเวลา เสาร์-อาทิตย์ รับสมัคร ถึง 25 พ.ค. 67

สมัครออนไลน์ทางเว็บไซต์มหาวิทยาลัย (http://sk.vru.ac.th/ent) click กรอกใบสมัครออนไลน์

สมัครด้วยตนเองที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว
เลขที่ 1177 หมู่ 2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว 2700

สอบถามข้อมูลได้ที่
โทรศัพท์ : 037-447043
เฟสบุ๊ค : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว | Facebook
LINE OA : @359xalqe https://lin.ee/lVolcng

ค่าลงทะเบียนระดับปริญญาตรี

ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 1,500 บาท
ค่าเทอมแต่ละเทอม 10,000 บาท


รวมค่าเทอมตลอดหลักสูตร 80,000 บาท*
*ค่าเทอมตลอดหลักสูตร หมายถึง ท่านที่ศึกษาเต็ม 4 ปี 8 เทอม นักศึกษาเทียบโอนก็จ่ายค่าเทอม ตามจำนวนเทอมน้อยลง
**สามารถแบ่งชำระค่าลงทะเบียน (ค่าเทอม) ได้ ตามเงื่อนไขของมหาวิทยาลัยฯ

อาชีพหลังจบการศึกษา​
  1. เจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ)
  2. ข้าราชการพลเรือน
  3. ข้าราชการทหาร
  4. ข้าราชการตำรวจ
  5. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
  6. พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  7. เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ
  8. เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์
  9. เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
  10. ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
  11. รับราชการ
  12. นักการเมืองทุกระดับ

อ่านข้อมูลหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ฉบับเต็ม : รป.บ. รัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Bachelor of Public Administration Program in Public Administration

โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชา ดังนี้

1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า

30

หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า

93

หน่วยกิต

  2.1) กลุ่มวิชาเนื้อหา

87

หน่วยกิต

    2.1.1) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ

57

หน่วยกิต

    2.1.2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านเลือก

30

หน่วยกิต

  2.2) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา

6

หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวนไม่น้อยกว่า

 6

หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า

129

หน่วยกิต

การจัดแผนการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

VGEXXX

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

7

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาบังคับ)

HPA101
HPA102
HPA103
HPA105

ความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์
ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์
หลักกฎหมายสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์
การเมืองการปกครองไทย

3(3-0-6)
3(3-0-6)
3(3-0-6)
3(3-0-6)

รวมหน่วยกิต

19

ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

VGEXXX

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

7

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาบังคับ)

HPA110
HPA201
HPA202
HPA214

ทฤษฎีองค์การสาธารณะ
นโยบายสาธารณะ
การบริหารงานคลังและงบประมาณ
รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

3(2-2-5)
3(3-0-6)
3(3-0-6)
3(3-0-6)

รวมหน่วยกิต

19

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

VGEXXX

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาบังคับ)

HPA220
HPA221
HPA219
HPA109

หลักสิทธิมนุษยชน จริยธรรมและธรรมาภิบาล
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ
แนวคิดและทฤษฎีการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
แนวคิดทฤษฎีการบริหารท้องถิ่น

3(3-0-6)
3(3-0-6)
3(3-0-6)
3(3-0-6)

รวมหน่วยกิต

18

ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

VGEXXX

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

6

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาบังคับ)

HPA218
HPA334

การจัดการสารสนเทศดิจิทัล
การบริหารงานภาครัฐในประชาคมอาเซียน

3(2-2-5)
3(3-0-6)

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาเลือก)

HPAXXX

วิชาเลือก

9

รวมหน่วยกิต

21

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

VGEXXX

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

4

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาบังคับ)

HPA340
HPA304

ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
หลักกฎหมายปกครอง

3(2-2-5)
3(3-0-6)

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาเลือก)

HPAXXX

วิชาเลือก

6

เลือกเสรี

HPAXXX

วิชาเลือกเสรี

3

รวมหน่วยกิต

19

ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาบังคับ)

HPA356
HPA341
HPA427

ภาษาอังกฤษสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์
สถิติสำหรับการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์
ปัญหาพิเศษทางรัฐประศาสนศาสตร์

3(2-2-5)
3(2-2-5)
3(2-2-5)

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาเลือก)

HPAXXX

วิชาเลือก

6

เลือกเสรี

HPAXXX

วิชาเลือกเสรี

3

รวมหน่วยกิต

18

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาปฏิบัติการฯ)

HPA401
หรือ
HPA402

เตรียมสหกิจศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
หรือ
การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์

1(45)

2(90)

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาเลือก)

HPAXXX

วิชาเลือก

9

รวมหน่วยกิต

10 หรือ 11
หน่วยกิต

ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2

หมวดวิชา

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ
(วิชาปฏิบัติการฯ)

HPA406
หรือ
HPA409
หรือ
HPA408

สหกิจศึกษารัฐประศาสนศาสตร์
หรือ
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์
หรือ
โครงการพิเศษทางรัฐประศาสนศาสตร์

6(640)

5(450)

6(640)

รวมหน่วยกิต

6 หรือ 5
หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
   หลักสูตรนี้ออกแบบเพื่อให้บัณฑิตสามารถทำงานในสายงานบริหารและสายสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้
   1. หน่วยงานภาครัฐ เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ บุคลากรองค์การมหาชน องค์กรไม่แสวงหากำไร นักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น
   2. หน่วยงานภาคเอกชน เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่ธุรการ และผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชน

 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสระแก้ว

ลำดับ

ชื่อ-สกุล

ตำแหน่งวิชาการ

คุณวุฒิ-สาขาวิชา

สถาบันการศึกษา

ปีที่จบ

1.

นายพัณณกร สอนไว

อาจารย์

รป.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)

ศศ.ม. (รัฐศาสตร์)

น.บ. (นิติศาสตร์)

ศศ.บ. (การจัดการทั่วไป)

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร

2558

2546

2548

2540

2.

นายวุฒิวัฒน์ อนันต์วุฒิเมธ

อาจารย์

ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์)

ศศ.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)

มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร

2552

2547

3.

นายชัยวุฒิ เทโพธิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)

รป.ม. (นโยบายสาธารณะ)

ศศ.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)

มหาวิทยาลัยบูรพา

มหาวิทยาลัมหาสารคาม

สถาบันราชภัฏนครราชสีมา

2563

2548

2544

4.

นายวราวุฒิ คำพานุช

อาจารย์

รอ.ม. (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน)

รบ. (การปกครอง)

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

มหาวิทยาลัยอุบลราชธาน

2559

2556

5.

น.ส.เพ็ญศรี ชิตบุตร

อาจารย์

รม. (การเมืองการปกครอง)

รบ. (การเมืองการปกครอง)

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

2561

2554

Scroll to Top