ปริญญาตรี
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Administration Program in Public
Administration
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อย่อ : รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Bachelor of Public Administration (Public Administration)
ชื่อย่อ : B.P.A. (Public Administration)
จำนวนหน่วยกิตและรูปแบบของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต
รูปแบบ
เป็นหลักสูตรระดับคุณวุฒิปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี*
*สำหรับผู้ไม่ได้เทียบโอนวุฒิการศึกษา หรือประสบการณ์ทำงาน
ประเภทหลักสูตร
เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คู่คุณธรรม เชี่ยวชาญการพัฒนางาน และเป็นนวัตกร กระบวนการในองค์การภาครัฐและภาคเอกชนในโลกดิจิทัล
ความสำคัญ
จากสภาพการณ์ในปัจจุบันของสังคมทั้งในและต่างประเทศที่อยู่ในสภาพโลกาภิวัตน์และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ทำให้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางสังคมเศรษฐกิจและการเมืองและการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทั้งหมดก็ได้ส่งผลต่อการบริหารงานภาครัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้การบริหารงานภาครัฐต้องมีการปรับตัวอย่างต่อเนื่องในหลายประเด็น อาทิ ปรัชญาของการบริหารงานภาครัฐระบบของการบริหารงานภาครัฐ เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนในรูปของการปฏิรูประบบราชการที่กระทำมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้หรือแม้กระทั่งคุณลักษณะหน้าที่ของผู้บริหารงานภาครัฐที่ต้องเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้สภาพการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังกล่าว ยังได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกันกับศาสตร์ทางด้านการบริหารงานภาครัฐทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาตลอดจนสร้างแนวคิดในการบริหารงานภาครัฐแนวใหม่ขึ้นมา เช่น การนำแนวคิดจากภาคเอกชนมาปรับใช้ การทำงานในลักษณะของร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnership) การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม (Civil Society) ทั้งนี้เพื่อให้ประโยชน์สูงสุดสุดเกิดขึ้นกับประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดี
ดังนั้น คณะกรรมการบริหารหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ซึ่งตระหนักถึงความสำคัญในหน้าที่การผลิตบัณฑิตทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ว่าจะส่งผลอย่างมากต่อการบริหารงานภาครัฐและความเป็นอยู่ของสังคมโดยรวม จึงเล็งเห็นโอกาสอันดีที่จะปรับปรุงหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ให้สามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้มีคุณธรรมจริยธรรมรู้เท่าทันสภาพการณ์และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของสังคมได้
วัตถุประสงค์
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม ความรู้ และทักษะทางรัฐประศาสตนศาสตร์
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในองค์การภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งใน
ระดับประเทศและในระดับท้องถิ่นในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ - เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นนวัตกรกระบวนการ เพื่อการพัฒนางาน และหน่วยงาน
แผนการรับนักศึกษา
ปริญญาตรีเต็มเวลา จันทร์-ศุกร์ รับสมัคร ถึง 31 พ.ค. 67
ปริญญาตรีเต็มเวลา เสาร์-อาทิตย์ รับสมัคร ถึง 25 พ.ค. 67
สมัครออนไลน์ทางเว็บไซต์มหาวิทยาลัย (https://sk.vru.ac.th/ent) click กรอกใบสมัครออนไลน์
สมัครด้วยตนเองที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว
เลขที่ 1177 หมู่ 2 ตำบลท่าเกษม อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว 2700
สอบถามข้อมูลได้ที่
โทรศัพท์ : 037-447043
เฟสบุ๊ค : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว | Facebook
LINE OA : @359xalqe https://lin.ee/lVolcng
ค่าลงทะเบียนระดับปริญญาตรี
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 1,500 บาท
ค่าเทอมแต่ละเทอม 10,000 บาท
รวมค่าเทอมตลอดหลักสูตร 80,000 บาท*
*ค่าเทอมตลอดหลักสูตร หมายถึง ท่านที่ศึกษาเต็ม 4 ปี 8 เทอม นักศึกษาเทียบโอนก็จ่ายค่าเทอม ตามจำนวนเทอมน้อยลง
**สามารถแบ่งชำระค่าลงทะเบียน (ค่าเทอม) ได้ ตามเงื่อนไขของมหาวิทยาลัยฯ
อาชีพหลังจบการศึกษา
- เจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ)
- ข้าราชการพลเรือน
- ข้าราชการทหาร
- ข้าราชการตำรวจ
- เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
- พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ
- เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์
- เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
- ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
- รับราชการ
- นักการเมืองทุกระดับ
อ่านข้อมูลหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต ฉบับเต็ม : รป.บ. รัฐประศาสนศาสตร์
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Bachelor of Public Administration Program in Public Administration
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชา ดังนี้ | ||
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวนไม่น้อยกว่า | 30 | หน่วยกิต |
2) หมวดวิชาเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า | 93 | หน่วยกิต |
2.1) กลุ่มวิชาเนื้อหา | 87 | หน่วยกิต |
2.1.1) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านบังคับ | 57 | หน่วยกิต |
2.1.2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้านเลือก | 30 | หน่วยกิต |
2.2) กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา | 6 | หน่วยกิต |
3) หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวนไม่น้อยกว่า | 6 | หน่วยกิต |
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า | 129 | หน่วยกิต |
การจัดแผนการศึกษา
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | |||
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 7 |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPA101 | ความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์ | 3(3-0-6) |
รวมหน่วยกิต | 19 |
ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | |||
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 7 |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPA110 | ทฤษฎีองค์การสาธารณะ | 3(2-2-5) |
รวมหน่วยกิต | 19 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | |||
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 6 |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPA220 | หลักสิทธิมนุษยชน จริยธรรมและธรรมาภิบาล | 3(3-0-6) |
รวมหน่วยกิต | 18 |
ชั้นปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | |||
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 6 |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPA218 | การจัดการสารสนเทศดิจิทัล | 3(2-2-5) |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPAXXX | วิชาเลือก | 9 |
รวมหน่วยกิต | 21 |
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1 | |||
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | VGEXXX | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 4 |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPA340 | ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์ | 3(2-2-5) |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPAXXX | วิชาเลือก | 6 |
เลือกเสรี | HPAXXX | วิชาเลือกเสรี | 3 |
รวมหน่วยกิต | 19 |
ชั้นปีที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2 | |||
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPA356 | ภาษาอังกฤษสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์ | 3(2-2-5) |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPAXXX | วิชาเลือก | 6 |
เลือกเสรี | HPAXXX | วิชาเลือกเสรี | 3 |
รวมหน่วยกิต | 18 |
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 | |||
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPA401 | เตรียมสหกิจศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ | 1(45) 2(90) |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPAXXX | วิชาเลือก | 9 |
รวมหน่วยกิต | 10 หรือ 11 |
ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 | |||
หมวดวิชา | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | HPA406 | สหกิจศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ | 6(640) 5(450) 6(640) |
รวมหน่วยกิต | 6 หรือ 5 |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
หลักสูตรนี้ออกแบบเพื่อให้บัณฑิตสามารถทำงานในสายงานบริหารและสายสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้
1. หน่วยงานภาครัฐ เช่น ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ บุคลากรองค์การมหาชน องค์กรไม่แสวงหากำไร นักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น
2. หน่วยงานภาคเอกชน เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่ธุรการ และผู้ประกอบวิสาหกิจชุมชน
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสระแก้ว
ลำดับ | ชื่อ-สกุล | ตำแหน่งวิชาการ | คุณวุฒิ-สาขาวิชา | สถาบันการศึกษา | ปีที่จบ |
1. | นายพัณณกร สอนไว | อาจารย์ | รป.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์) ศศ.ม. (รัฐศาสตร์) น.บ. (นิติศาสตร์) ศศ.บ. (การจัดการทั่วไป) | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร | 2558 2546 2548 2540 |
2. | นายวุฒิวัฒน์ อนันต์วุฒิเมธ | อาจารย์ | ศศ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) ศศ.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์) | มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร | 2552 2547 |
3. | นายชัยวุฒิ เทโพธิ์ | ผู้ช่วยศาสตราจารย์ | ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์) รป.ม. (นโยบายสาธารณะ) ศศ.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์) | มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัมหาสารคาม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา | 2563 2548 2544 |
4. | นายวราวุฒิ คำพานุช | อาจารย์ | รอ.ม. (การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน) รบ. (การปกครอง) | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธาน | 2559 2556 |
5. | น.ส.เพ็ญศรี ชิตบุตร | อาจารย์ | รม. (การเมืองการปกครอง) รบ. (การเมืองการปกครอง) | มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | 2561 2554 |