บริบทมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว

บริบทมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว

อัตลักษณ์ :

บัณฑิตมุ่งอาสา รับใช้ปวงประชา

เอกลักษณ์ :

มุ่งสร้างศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความผาสุกของประเทศชาติ

ปรัชญา :

การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่น

ปณิธาน :

ปัญญาวิทยาการหนุนเสริมพลังพื้นที่เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน

ค่านิยม : VRU-SK

V: Visionary เป็นผู้รอบรู้และมองการณ์ไกล
R: Responsibility รู้รับผิดชอบในงาน หน่วยงาน และส่วนรวม
U: Unity รวมพลังเป็นหนึ่งเดียว
S: Service mind มีจิตบริการสาธารณะ
K: Knowledge เรียนรู้ สร้างสรรค์ เชี่ยวชาญในศาสตร์

วิสัยทัศน์ :

มหาวิทยาลัยชั้นนำในการบูรณาการพหุศาสตร์สู่การสร้างโอกาสและคลังปัญญาแห่งเบื้องบูรพา

วัฒนธรรมองค์กร :

น้อมนำศาสตร์พระราชา สร้างสรรค์ผลงาน ร่วมพัฒนาองค์กรและท้องถิ่น

สมรรถนะหลัก :

บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นชายแดนถิ่นบูรพา

พันธกิจ :
  1. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกและของประเทศ
  2. ดำเนินการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและพัฒนา องค์ความรู้ใหม่ตอบโจทย์การพัฒนา ชุมชนท้องถิ่นและประเทศให้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการผลิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อความสามารถในการพึ่งตนเองและการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ
  3. พัฒนาและส่งเสริมบริการวิชาการแก่สังคม ประสานความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่น สังคม ประเทศเพื่อนบ้าน หน่วยงานภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทุกระดับในการสร้างพลังและหนุนเสริมการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม จนเกิดเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  4. พัฒนามหาวิทยาลัยแห่งการสร้างโอกาสและคุณค่าแก่สังคมที่มีการบริหารจัดการ ตามเกณฑ์การดำเนินงานที่เป็นเลิศและหลักธรรมาภิบาล ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศชาติและบริบทโลก
  5. พัฒนาและขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจ และประเทศชาติ มุ่งมั่นพัฒนาตนเอง สู่ความยั่งยืน เพื่อเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
เสาหลักกลยุทธ์ :

เสาหลักที่ 1: การจัดการศึกษา (Academic)

เสาหลักที่ 2: วิจัยและนวัตกรรม (Research & Innovation)

เสาหลักที่ 3: พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม (Social Engagement)

เสาหลักที่ 4: การบริหารจัดการองค์กร (Organization Management)

เสาหลักที่ 5: ส่งเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน (Sustainable University)

เป้าประสงค์ :

เป้าประสงค์ที่ 1 เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนทุกช่วงวัย
เป้าประสงค์ที่ 2 เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ รับใช้สังคม และสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์
เป้าประสงค์ที่ 3 เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความรับผิดชอบและสร้างโอกาสความเสมอภาคให้กับสังคม
เป้าประสงค์ที่ 4 เพื่อขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรที่มีสมรถนะสูงและธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์ที่ 5 เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความยั่งยืนตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ :

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย และพัฒนาบัณฑิตให้เรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นมืออาชีพรองรับการเปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์
1.1 สร้างความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
1.2 พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของคนทุกช่วงวัยตามมาตรฐานการศึกษา
1.3 ส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่ผลงานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
1.4 เสริมสร้างความรู้และทักษะ soft skill ของนักศึกษาให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และเป็นที่ยอมรับของสังคม
1.5 พัฒนาการผลิตครูให้มีคุณภาพและได้รับมาตรฐานวิชาชีพครู
1.6 ผลิตและพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาตามความเชี่ยวชาญด้านวิชาการและวิชาชีพ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม งานวิชาการรับใช้สังคม และงานสร้างสรรค์ ที่ยอมรับบนฐานจริยธรรม มีคุณภาพ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน และคุณภาพชีวิตของสังคม
กลยุทธ์
2.1 ส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ ที่มีคุณภาพและตอบโจทย์การพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ
2.2 ส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
2.3 พัฒนาศักยภาพการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ ตามความเชี่ยวชาญของศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม (Social Engagement) ยกระดับเศรษฐกิจของท้องถิ่น
กลยุทธ์
3.1 บูรณาการเครือข่ายความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางสังคมเพื่อสร้างพลังและหนุนเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.2 พัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ เป็นแหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจฐานราก
3.3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับสถานศึกษาและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
3.4 ส่งเสริมการสืบสาน และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมต่อยอดสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
3.5 ส่งเสริมงานพันธกิจสัมพันธ์ตามอัตลักษณ์และความเชี่ยวชาญของศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบสมรรถนะของบุคลากรให้มีทักษะการทำงานในอนาคตและพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เกื้อกูลการเรียนรู้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานในสังคมยุคดิจิทัล
กลยุทธ์
4.1. พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการบริหารงานของมหาวิทยาลัยเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
4.2. พัฒนาการบริหารงานของมหาวิทยาลัยตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
4.3. ส่งเสริมการนำระบบ Digital มาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย
4.4. พัฒนาความร่วมมือกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
4.5. ส่งเสริมการบริหารสินทรัพย์ของมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนารายได้                    

ยุทธศาสตร์ที่ 5  ส่งเสริมการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่ความยั่งยืน
กลยุทธ์
5.1 ส่งเสริมการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) (SDGs  ข้อ 1 , 4)
5.2 พัฒนามหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green University) (SDGs  ข้อ 12 , 13)
5.3 สร้างความร่วมมือในการพัฒนา Soft Power และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนพื้นที่บริการ
5.4 ส่งเสริมการพัฒนาสู่โลกสมัยใหม่
5.5 ส่งเสริมการสร้างรายได้จากพัฒนาทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย

อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ดังนี้

มาตรา 7 ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล และยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุง ศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู

มาตรา 8 ในการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 7 ให้กำหนดภาระหน้าที่ ของมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้

  • แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล
  • ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่นอีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิต ดังกล่าว จะต้องให้มีจำนวน และคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ
  • เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
  • เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
  • ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่น ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
  • ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและ การประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
  • ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องจาการแนวพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

งานนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สระแก้ว

Scroll to Top