เส้นทางท่องเที่ยวเรียนรู้วิถีชีวิต.... ชุมชนเขมร บ้านตุ่น อรัญประเทศ

การอพยพย้ายถิ่น

เขมร

บ้านตุ่น อรัญประเทศ

หลังเกิดสงครามบูรพาทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสีย เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้รวบรวมสัมภาระ รวมทั้งบริวารที่เป็นชาวเขมร อพยพกลับประเทศไทย ในราว พ.ศ. 2448 เดินทางผ่านเส้นทาง บ้านทัพเสด็จ ตาพระยา อรัญประเทศ เข้าสู่เมืองปราจีนบุรี

ชาติพันธุ์เขมรที่อพยพตาม เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ได้ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตามทางที่อพยพ เช่น ที่อำเภอตาพระยา, บ้านละลมติม อำเภอโคกสูง, บ้านตุ่น ตำบลบ้านด่าน, บ้านหนองบัวใต้ ตำบลหันทราย, อำเภออรัญประเทศกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในอรัญประเทศ ที่ยังคงมีวัฒนธรรม ประเพณีตามแบบเขมร คือ ชุมชนชาติพันธุ์เขมรที่บ้านตุ่น ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ลักษณะที่อยู่อาศัย

บ้านเขมร

บ้านเรือนที่อยู่อาศัยของชาติพันธุ์ เขมรบ้านตุ่นแสดงให้เห็นถึงความสมถะ เรียบง่าย มีลักษณะหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเจ้าบ้าน ส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยวใต้ถุนไม่สูงมาก ใช้เป็นที่พักผ่อนในเวลากลางวัน ซึ่งยังพบเห็นได้ในปัจจุบัน

ภาษา

มีการใช้ภาษาเขมรในการสื่อสารกันบริเวณพรมแดนที่มีเขตติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ในอำเภอตาพระยา อำเภอโคกสูง บ้านตุ่น ตำบลบ้านด่าน บ้านหนองบัวใต้ ตำบลหันทราย อำเภออรัญประเทศ และบางตำบลของอำเภอคลองหาด ภาษาเขมรที่พูดกันในจังหวัดสระแก้ว ไม่แตกต่างจากภาษาเขมรที่ใช้พูดในกัมพูชา มากนัก เช่น “มึน เอ็อย เต” แปลว่า “ไม่เป็นไรหรอก” “ออรฺ กุน เจริญ” แปลว่า “ขอบคุณมาก” “จุมเรียบ ซัวรฺ” แปลว่า “สวัสดีครับคุณ” เป็นต้น

การแต่งกาย

การแต่งกายเขมรชาย

ผู้ชาย

นุ่งโสร่งตาหมากรุก โสร่งไหม แล้วแต่ฐานะ และโอกาส สวมเสื้อ คอกลมสีขาว ผ่าหน้าติดกระดุม แขนสั้น มีกระเป๋าด้านหน้าบริเวณชายเสื้อ 2 กระเป๋า ชายเสื้อทั้งซ้าย และขวาผ่าข้างเล็กน้อย นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า

ผู้หญิง

นุ่งผ้าถุงโสร่งลายดอกไม้ ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อคอกลมแขนกระบอก ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายสีอ่อน เวลาอยู่บ้านจะใส่เสื้อคอกระเช้า ใช้ผ้าโพกศีรษะกันแดดเวลาออกนอกบ้าน

การแต่งกายเขมรหญิง
การแต่งกายเวียดนาม
การแต่งกายเวียดนาม

ประเพณีสำคัญ

ประเพณีไหว้ศาลตาปู่

ประเพณีไหว้ศาลตาปู่

ประเพณีไหว้ศาลตาปู่ ชาวบ้านตุ่นมีความเชื่อว่าเป็นดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ประจำหมู่บ้านที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครอง ให้คนในหมู่บ้าน อยู่อย่างร่มเย็น ปราศจาก อันตราย จึงได้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญของชาติพันธุ์เขมรบ้านตุ่น คือ การบูชาตาปู เป็นพิธีกรรมกระทำเป็นประจำทุกปี โดยจะกําหนดข้างขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ก่อนฤดูกาลทำนา เครื่องเซ่นไหว้ มีอาหารคาว หวาน เช่น ไก่ ปลา ข้าวสุก เหล้า น้ำหวาน ไปถวายศาลตาปูพร้อมกัน

แซนโฎนตา

แซนโฎนตา เป็นประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษของ ชาติพันธุ์เขมร โดยเฉพาะชาวบ้านตุ่น บ้านสุขมงคล มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที ย้อนรําลึกถึงบรรพบุรุษผู้มีพระคุณสืบสานขนมธรรมเนียมที่ลูกหลานต้องปฏิบัติต่อบิดามารดา ครูอาจารย์ และยึดหลักคําสอนทางพระพุทธศาสนา คําว่า “แซน” แปลว่า เช่น ในภาษาไทย “โฎนตา” เป็นคํานามที่ใช้ เรียกบรรพบุรุษ หมายถึง “ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว” ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันสารทใหญ่ ส่วนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 15 ก่อนหน้านี้ถือเป็น วันสารทน้อย

แซนโฎนตา
ประเพณีไหว้ศาลตาปู่

การทำบุญศีล 1

การทำบุญศีล 1 หรือศีลแรก หลังการเข้าพรรษา ได้ 15 วัน กลุ่มชาติพันธุ์เขมร บ้านตุ่น บ้านสุขมงคล มีความเชื่อว่าเป็นวันที่วิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วจะมารับส่วนบุญส่วนกุศล โดยชาวบ้านทุกหลังคาเรือน จะห่อข้าวต้มมัดเพื่อไปทำบุญที่วัด ถ้าใครไม่ไปทำบุญ มีความเชื่อว่าจะถูกบรรพบุรุษสาปแช่งไม่ให้มีความสุข ดังนั้นจึงถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

อาหาร

ชาติพันธุ์เขมรนิยมบริโภคอาหารที่เกิดขึ้นจากวัตถุดิบหลักในท้องถิ่นโดยเฉพาะข้าว และปลาน้ำจืด เนื่องจากสภาพภูมิประเทศมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ อาทิเช่น แกงเลียง, แกงข้าวคั่ว, กบยัดไส้, ขนมเบื้อง และขนมกระบุก

บ้านเขมร
บ้านเขมร
บ้านเขมร
บ้านเขมร
บ้านเขมร
บ้านเขมร
บ้านเขมร
บ้านเขมร
บ้านเขมร
บ้านเขมร

ศิลปะการแสดง

อาใย

อาใย

อาใย เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านตุ่น คนชาติพันธุ์เขมร ในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว อาใยเป็นการแสดงสะท้อนความคิดมุมมองชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผู้คนที่มีเชื้อสายเขมรให้สังคมอื่นได้รู้จัก แต่มีข้อจำกัดทางภาษา ซึ่งภาษาเขมรที่ชาวบ้านตุ่นร้อง คือ เพลงครู เพลงมโหรี เพลงกัดเตรย เพลงหุมโรง เพลงจองใด ฯลฯ และมีการร่ายรํา เพื่อเพิ่มความสนุกสนาน

สถาปัตยกรรม

สถาปัตยกรรม

ประติมากรรมภาพปูนปั้นประดับหอไตรและกําแพงวัดสันติธรรมวัดสันติธรรม ตั้งอยู่ในเขตบ้านไทยสามารถ ตำบลบ้านใหม่หนองไทร อำเภออรัญประเทศเป็นวัดที่น่าเอาศิลปกรรมแบบเขมรมาผสมผสานกับศิลปกรรมไทยได้อย่างงดงาม ประติมากรรมในวัดส่วนใหญ่เป็นประติมากรรมเกี่ยวกับเรื่องราวในศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธทั้งความเชื่อของชาวกัมพูชาซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป ทั้งบริเวณกําแพงวัด หอไตรไปจนถึงเมรุ

ภูมิปัญญา

ชาติพันธุ์เขมร บ้านตุ่นส่วนใหญ่มีภูมิปัญญาด้านงานฝีมือหัตถกรรม การทอเสื่อ การเย็บผ้า การถนอมอาหาร การทำนา ปลูกข้าว ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดง ภูมิปัญญาด้านการจักรสาน เครื่องมือทำมาหากินต่างๆ

ชาติพันธุ์เขมร